สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล


หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
Computer Technology and Digital: CTD

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อสาขาวิชา : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล
ระดับ ปริญญาตรี 4 ปี : ปริญญาตรีทางวิชาการ

ชื่อปริญญา (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล)
ชื่อย่อปริญญา (ภาษาไทย) วท.บ. (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล)

ชื่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Computer Technology and Digital)
ชื่อย่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Computer Technology and Digital)

สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ :
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ อนุมัติหลักสูตรในคราวประชุม ครั้งที่ 5/2567
เมื่อวันที่ 4 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2567

ปรัชญา วัตถุประสงค์ และผลลัพธ์การเรียนรู้

ปรัชญาสาขาวิชา : ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล

วัตถุประสงค์สาขาวิชา : เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีผลลัพธ์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะ ดังนี้
1) มีความรู้ความสามารถและทักษะด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลที่ทันสมัย มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้เพื่อประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
2) มีความสามารถในการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์และสามารถเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) มีคุณธรรม จริยธรรม รักษาจรรยาบรรณ ทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs) :
PLO1   สามารถอธิบายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล การคิดและการคำนวณได้อย่างถูกต้อง
PLO2   สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล คอมพิวเตอร์กราฟิก สำหรับการผลิตสื่อดิจิทัลได้
PLO3   สามารถวิเคราะห์ความต้องการของระบบตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบได้
PLO4   สามารถวิเคราะห์ปัญหาระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย เพื่อแก้ไขปัญหาและปฏิบัติงานภายใต้การ
เปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้
PLO5   สามารถเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งได้
PLO6   สามารถใช้ข้อมูลและนำเสนอบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ได้

โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล ผู้สำเร็จการศึกษาต้องเรียนไม่น้อยกว่า 122 หน่วยกิต ประกอบด้วยสัดส่วนหน่วยกิตแต่ละหมวดวิชาและแต่ละกลุ่มวิชา ดังนี้

หมวดวิชาหลักสูตรปรับปรุง (หน่วยกิต)
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
1.1 กลุ่มรอบรู้ด้านภาษาและเทคโนโลยี
1.2 กลุ่มอยู่ดีมีสุข ฉลาดคิดก้าวไกล
1.3 กลุ่มพลเมืองไทยและพลเมืองโลก
1.4 กลุ่มการเป็นผู้ประกอบการและการบริหารการเงิน
ไม่น้อยกว่า 24
2) หมวดวิชาเฉพาะด้าน
2.1 วิชาแกน
2.2 วิชาเอกบังคับ
2.3 วิชาเอกเลือก
2.4 วิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ไม่น้อยกว่า 92 เรียน  9 เรียน  55 ไม่น้อยกว่า 21 เรียน  7
3) หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า 6
จำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 122

อาจารย์ประจำหลักสูตร

ตำแหน่งทางวิชาการชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวุฒิการศึกษาสูงสุด
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัฐพร กิ่งบูวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: ปร.ด. สาขาวิชา: เทคโนโลยีสารสนเทศ
อาจารย์จุฑามณี รุ้งแก้ววุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: วท.ม. (คอมพิวเตอร์ และ
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา)
อาจารย์พัฒนพงษ์ โพธิปัสสาวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: วท.ม. สาขาวิชา: เทคโนโลยีสารสนเทศ แขนง สื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรพงศ์ สงผัดวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: วท.ม. สาขาวิชา: เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาภรณ์ เหล่าพิลัยวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาโท หลักสูตร: วท.ม. สาขาวิชา: เทคโนโลยีสารสนเทศ

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

  1. ศึกษารายวิชาต่าง ๆ ครบถ้วนตามหลักสูตร และข้อกําหนดเฉพาะ โดยมีค่าระดับ คะแนนสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตร ไม่ตํ่ากว่า 2.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนน และไม่มีผลการเรียน สอบตกในรายวิชาบังคับ
  2. มีความประพฤติดีและมีคุณธรรม
  3. ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมตามประกาศของมหาวิทยาลัย
  4. ไม่มีภาระหนี้สินค้างชําระหรือค้างส่งหนังสือต่อมหาวิทยาลัย
  5. สอบผ่านการประเมินความรู้และทักษะตามที่มหาวิทยาลัยกําหนด
  6. นักศึกษาที่โอนจากสถาบันอุดมศึกษา ให้นับเวลาที่ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเดิมและเวลาที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยรวมกัน
  7. ให้นักศึกษาขอขึ้นทะเบียนบัณฑิตเมื่อคาดว่าจะสําเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่กําหนด

คุณสมบัติผู้เรียน

  1. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)หรือเทียบเท่าจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
  2. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
  3. เป็นผู้มีคุณสมบัติอื่น ๆ ครบถ้วนตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ซึ่งกำหนดไว้สำหรับผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  4. ผ่านการสอบคัดเลือกตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษกำหนด

แผนการศึกษา

  1. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)หรือเทียบเท่าจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
  2. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
  3. เป็นผู้มีคุณสมบัติอื่น ๆ ครบถ้วนตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ซึ่งกำหนดไว้สำหรับผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  4. ผ่านการสอบคัดเลือกตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษกำหนด
ปีการศึกษาที่ 1  ภาคเรียนที่ 1
กลุ่มวิชารหัสวิชาชื่อวิชา(ท-ป-ค)
ศึกษาทั่วไป1500131ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้ดิจิทัล3(2-2-5)
ศึกษาทั่วไป2500122วิศวกรสังคมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น3(2-2-5)
วิชาแกน4121403คณิตศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์3(2-2-5)
4121604คอมพิวเตอร์สำหรับเทคโนโลยี3(2-2-5)
วิชาเอกบังคับ4121206การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์3(2-2-5)
4122204โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม3(2-2-5)
รวม18 หน่วยกิต
ปีการศึกษาที่ 1  ภาคเรียนที่ 2
กลุ่มวิชารหัสวิชาชื่อวิชา(ท-ป-ค)
ศึกษาทั่วไป4032227การออกกำลังกายแบบบูรณาการสำหรับคนยุคใหม่3(2-2-5)
ศึกษาทั่วไป3502102เส้นทางสู่ผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล3(2-2-5)
วิชาแกน4111101หลักสถิติ3(3-0-6)
วิชาเอกบังคับ4123202ระบบฐานข้อมูล3(2-2-5)
4122508  การคิดเชิงออกแบบสำหรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และดิจิทัล3(2-2-5)
4122709การซ่อมบำรุงระบบไมโครคอมพิวเตอร์3(2-2-5)
รวม18 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 2  ภาคเรียนที่ 1
กลุ่มวิชารหัสวิชาชื่อวิชา(ท-ป-ค)
ศึกษาทั่วไป2500127พลเมืองจิตสาธารณะ3(2-2-5)
2500118พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน3(2-2-5)
วิชาเอกบังคับ4122617เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์3(2-2-5)
4122213การพัฒนาเว็บไซต์3(2-2-5)
4123617การประยุกต์ใช้งานมัลติมีเดีย3(2-2-5)
4124404การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์3(2-2-5)
รวม18 หน่วยกิต
ปีการศึกษาที่ 2  ภาคเรียนที่ 2
กลุ่มวิชารหัสวิชาชื่อวิชา(ท-ป-ค)
ศึกษาทั่วไป1500132ภาษาอังกฤษและการสื่อสารในยุคดิจิทัล3(2-2-5)
4002104การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำนักงานในยุคดิจิทัล3(2-2-5)
วิชาเอกบังคับ4122619การออกแบบนวัตกรรมดิจิทัล3(2-2-5)
4123659การออกแบบสื่อเชิงโต้ตอบ3(2-2-5)
วิชาเอกเลือกxxxxxxxx(………………………………………………..)3(X-X-X)
xxxxxxxx(………………………………………………..)3(X-X-X)
รวม18 หน่วยกิต
ปีการศึกษาที่ 3  ภาคเรียนที่ 1
กลุ่มวิชารหัสวิชาชื่อวิชา(ท-ป-ค)
วิชาเอกบังคับ4124501ปัญญาประดิษฐ์3(2-2-5)
4124509การสื่อสารระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์3(2-2-5)
วิชาเอกเลือกxxxxxxxx(………………………………………………..)3(X-X-X)
xxxxxxxx(………………………………………………..)3(X-X-X)
xxxxxxxx(………………………………………………..)3(X-X-X)
รวม15 หน่วยกิต
ปีการศึกษาที่ 3  ภาคเรียนที่ 2
กลุ่มวิชารหัสวิชาชื่อวิชา(ท-ป-ค)
วิชาเอกบังคับ4123652การออกแบบและพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์3(2-2-5)
4123316การพัฒนาซอฟต์แวร์ในหลากหลายแพลตฟอร์ม3(2-2-5)
4123729นวัตกรรมดิจิทัลสำหรับอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง3(2-2-5)
4123921การวิจัยด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล3(2-2-5)
4123933โครงงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 11(0-2-1)
วิชาเอกเลือกxxxxxxxx(………………………………………………..)3(X-X-X)
รวม16 หน่วยกิต
ปีการศึกษาที่ 4  ภาคเรียนที่ 1
กลุ่มวิชารหัสวิชาชื่อวิชา(ท-ป-ค)
วิชาเอกบังคับ41249xxโครงงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 23(0-6-3)
วิชาเอกเลือกxxxxxxxx(………………………………………………..)3(X-X-X)
วิชาฝึกประสบ การณ์วิชาชีพ4123807การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล 1(60)
วิชาเลือกเสรีxxxxxxxx(………………………………………………..)3(X-X-X)
วิชาเลือกเสรีxxxxxxxx(………………………………………………..)3(X-X-X)
รวม13 หน่วยกิต
ปีการศึกษาที่ 4  ภาคเรียนที่ 2
กลุ่มวิชารหัสวิชาชื่อวิชา(ท-ป-ค)
วิชาฝึกประสบ การณ์วิชาชีพ4124812การฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัล  6(600)
รวม6 หน่วยกิต